วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ผู้ให้กำเนิดคณะนิเทศศาสตร์ :ศาสตราจารย์ บำรุงสุข สีหอำไพ
ศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ เป็นผู้บุกเบิกการเรียนการสอนของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้ง "แผนกอิสระสื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์" โดยแรกเริ่มทำหน้าที่เป็นเลขานุการแผนกอิสระฯ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์จนถึงปี พ.ศ. 2517 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเป็นศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2522 จากนั้นท่านรับราชการมาจนเกษียณอายุราชการปี พ.ศ. 2535
ศาสตราจารย์บำรุงสุขเป็นคนที่ทุ่มเทให้กับงาน คณะนิเทศศาสตร์เปรียบเสมือน "บ้าน" ที่ท่านเพียรก่อสร้างรากฐาน เพื่อให้บ้านน้อยหลังนี้มีความมั่นคงมากที่สุด โดยในปีการศึกษา 2508 อันเป็นปีที่แผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ก่อตั้งขึ้นมานั้น ท่านได้ร่างหลักสูตรการเรียนการสอนที่รวบรวมอาจารย์ชื่อดังในสาขาวิชานั้นๆมาประสิทธิประสาทวิชาความรู้แก่นิสิต
ท่านจึงเป็นเสมือน "พระผู้สร้าง" อย่างแท้จริงที่ชาวนิเทศศาสตร์พึงรำลึกถึงอยู่เสมอ ภายหลังการถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ได้ก่อตั้ง "มูลนิธิบำรุงสุข สีหอำไพ" เพื่อเป็นการรำลึกถึงครูผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ โดยมีเป้าหมายให้มูลนิธิเป็นองค์กรสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพทางด้านนิเทศศาสตร์แก่สังคมสนับสนุนงานวิจัยต่างๆ
ผู้ให้กำเนิดคณะนิเทศศาสตร์ :ศาสตราจารย์ บำรุงสุข สีหอำไพ
ศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ เป็นผู้บุกเบิกการเรียนการสอนของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นกำลังสำคัญในการจัดตั้ง "แผนกอิสระสื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์" โดยแรกเริ่มทำหน้าที่เป็นเลขานุการแผนกอิสระฯ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์จนถึงปี พ.ศ. 2517 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเป็นศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2522 จากนั้นท่านรับราชการมาจนเกษียณอายุราชการปี พ.ศ. 2535
ศาสตราจารย์บำรุงสุขเป็นคนที่ทุ่มเทให้กับงาน คณะนิเทศศาสตร์เปรียบเสมือน "บ้าน" ที่ท่านเพียรก่อสร้างรากฐาน เพื่อให้บ้านน้อยหลังนี้มีความมั่นคงมากที่สุด โดยในปีการศึกษา 2508 อันเป็นปีที่แผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ก่อตั้งขึ้นมานั้น ท่านได้ร่างหลักสูตรการเรียนการสอนที่รวบรวมอาจารย์ชื่อดังในสาขาวิชานั้นๆมาประสิทธิประสาทวิชาความรู้แก่นิสิต
ท่านจึงเป็นเสมือน "พระผู้สร้าง" อย่างแท้จริงที่ชาวนิเทศศาสตร์พึงรำลึกถึงอยู่เสมอ ภายหลังการถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์บำรุงสุข สีหอำไพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่านิเทศศาสตร์ได้ก่อตั้ง "มูลนิธิบำรุงสุข สีหอำไพ" เพื่อเป็นการรำลึกถึงครูผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ โดยมีเป้าหมายให้มูลนิธิเป็นองค์กรสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพทางด้านนิเทศศาสตร์แก่สังคมสนับสนุนงานวิจัยต่างๆ
พระบิดาแห่งนิเทศศาสตร์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นจอมปราชญ์ รอบรู้ศิลปะวิทยาทุกด้าน ทรงได้รับยกย่อง ในฐานะผู้ริเริ่มนำวิทยาการสมัยใหม่ มาสู่คนไทย และได้ทรงปรับเปลี่ยนพิธีการต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ประวัติศาสตร์ได้บันทึกว่า พระองค์ทรงสนพระทัยด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ การใช้การสื่อสารในหลายช่องทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้ชาติไทยรอดพ้นการเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก พระองค์ทรงใช้กุศโลบายทางด้านการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารโน้มน้าวใจให้ประเทศตะวันตกเชื่อถือในตัวพระองค์ และสยามประเทศ ว่าเป็นประเทศที่มีอารยธรรมเจริญ รุ่งเรืองมาช้านานมีวัฒนธรรม ที่ดีงามและสามารถปรับตัว เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกได้ พระองค์ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของภาษาอังกฤษได้สนับสนุน ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่จะรู้เท่าทันชาติตะวันตก และเป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่สำคัญ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เปิดการสื่อสารระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับราษฎร โดยทำเป็นประกาศต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน อันเป็นการเปลี่ยนแปลงการสื่อสารไปจากดั้งเดิม
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเห็นสมควรที่จะจัดวันเทิด พระเกียรติพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นในวันที่ 18 ตุลาคมของทุกปีซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพ ในฐานะที่พระองค์ ได้ทรงริเริ่มวิชาการทางนิเทศศาสตร์ไทย โดยเฉพาะทางด้านการพิมพ์ พระองค์เปรียบดั่ง "บิดาแห่งนิเทศศาสตร์ไทย" ที่ทำให้วิชาการทางนิเทศศาสตร์ไทยเจิญงอกงามรุ่งเรืองมาตราบเท่าทุกวันนี้
ประวัติคณะนิเทศจุฬาฯ โดยสังเขป

คณะนิเทศศาสตร์เป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณริมถนนพญาไท เปิดทำการสอนครั้งแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2508 เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า “แผนกอิสระสื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์” ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเป็น “คณะนิเทศศาสตร์”
ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์มีอาคารเรียน 2 หลัง มีห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการในการผลิตสื่อต่าง ๆ ตลอดจนอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 70 ท่าน มีนิสิตที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษาประมาณ 1,200
คนทุกปีจะมีผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทย ประมาณปีละ 150 คน หลักสูตรภาษาอังกฤษ สาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร ประมาณปีละ 100 คน และระดับบัณฑิตศึกษาประมาณปีละ 235

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

+ แอร์บัส A380 +

เครื่องบิน แอร์บัส A380 เป็นเครื่องบินห้องโดยสารสองชั้นขนาดใหญ่ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 800 คน หรือ 500 คนถ้าวางที่นั่งแบบ 3 ชั้นผู้โดยสารตามเครื่องบินพาณิชย์ปกติ เครื่องบินรุ่นนี้ได้ผ่านกำหนดการทดสอบการบินเที่ยวแรกในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบินขึ้นจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และได้ส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายการบินแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550


แนะนำ
A380 รู้จักมาเป็นเวลาหลายปีในขณะที่มีแอร์บัสมีแผนการผลิต แอร์บัส A3XX โดยจะเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเริ่มให้บริการ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550
A380 ได้เปิดตัวในงานของเมืองตูลูสในฝรั่งเศสในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 หมายเลขอนุกรมของผู้ผลิต (MSN - Manufacturer's serial number) คือ 001 และรหัสทะเบียน F-WWOW


ข้อมูลทั่วไป
เครื่องบินแอร์บัสรุ่นใหม่นี้ ในเบื้องต้นจะผลิตขาย 2 แบบด้วยกัน คือA380-800 เป็นแบบ 2 ชั้นสมบูรณ์แบบ สามารถจุผู้โดยสารได้ 555 คน ในชั้นท่องเที่ยว หรือถึง 800 คน ในชั้นประหยัด ในระยะการบิน 8,000 ไมล์ทะเล (14,800 กิโลเมตร) และแบบA380-800F เป็นเครื่องบินสำหรับบรรทุกโดยเฉพาะ บรรทุกสัมภาระได้ 150 ตัน สำหรับพิสัยการบินระยะ 5,600 ไมล์ (10,400 กิโลเมตร



ราคา
ยังไม่มีการประกาศราคาอย่างเป็นทางการ แต่มีการประเมินราคาไว้ที่ 296 - 316 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อาจจะมีส่วนลดหากมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก


การส่งมอบ
การกำหนดการเดิมนั้น
สิงคโปร์แอร์ไลน์จะได้รับเครื่องบินแอร์บัส เอ380 เครื่องแรก ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2549 แควนตัสจะได้รับในช่วงต้นปีพ.ศ. 2550 และเอมิเรตส์จะได้รับก่อนปีพ.ศ. 2551 แต่เนื่องจากไม่สามารถผลิตได้ทันตามกำหนดการ ทำให้แอร์บัสต้องเลื่อนวันส่งมอบออกไป
จนในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แอร์บัสก็ประกาศเลื่อนการส่งมอบเป็นครั้งที่ 3 ทำให้คาดว่าจะสามารถส่งมองเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 และจะเพิ่มอัตราการผลิตให้ได้ 13 ลำในปีพ.ศ. 2551, 25 ลำ ในปีพ.ศ. 2552 และเต็มอัตราการผลิตที่ 45 ลำ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ส่วนเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นลูกค้าใหญ่ที่สุดของ เอ380 จะได้รับเครื่องบินลำแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 และผลจากการล่าช้าทำให้หลายสายการบินยกเลิกคำสั่งซื้อ และหันไปเลือกคู่แข่ง
โบอิง 747-8 สำหรับเครื่องบินโดยสาร และโบอิง 777F สำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้า
สำหรับเครื่องบินลำแรกที่จะส่งมอบให้สิงคโปร์แอร์ไลน์นั้นได้ลงสีเป็นลายเครื่องของสิงคโปร์แอร์ไลน์เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ประกาศว่าจะใช้ในเส้นทางบินระหว่าง
ลอนดอน และซิดนีย์ โดยผ่าน สิงคโปร์ เส้นทางการบินย่อของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ อาจครอบคลุม เส้นทาง สิงคโปร์ - ซานฟรานซิสโก โดยผ่าน ฮ่องกง และบินตรงไปยังปารีส และแฟรงค์เฟิร์ต ส่วนแควนตัส ก็ได้ประกาศเช่นกัน ว่าในตอนแรกจะใช้เครื่องบินนี้ บินในเส้นทางบิน ลอสแองเจิลลิส ไปซิดนีย์ แอร์บัสแถลงว่า ในที่สุดแล้ว ตนจะสามารถผลิตและส่งมอบเครื่องบินได้เดือนละ 4 ลำ
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของเมืองตูลูซ แอร์บัสได้ส่งมอบเครื่องบินแอร์บัส เอ 380-800 ลำแรก ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ ซึ่งจะเริ่มให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เส้นทาง สิงคโปร์-ซิดนีย์



การบินทดสอบสนามบินสุวรรณภูมิ
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ลำทดสอบหมายเลข F-WXXL เที่ยวบินที่ AIB 002 มีกำหนดมาบินทดสอบที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก ลงจอดเวลาประมาณ 13:00 น. และเดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 7 ธันวาคม เวลาประมาณ 12:00 น
วันที่
1 กันยายน พ.ศ. 2550 เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เที่ยวบินพิเศษ AIB-701 เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้โดยสารประกอบด้วยสื่อมวลชนและแขกรับเชิญ เพื่อเป็นการสาธิตการบินในทวีปเอเชียและประเทศไทย เกิดอุบัติเหตุขณะใช้รถลากจูงออกจากอาคารจอดเครื่องบิน ปลายปีกไปเฉี่ยวกับประตูโรงจอดเสียหายเล็กน้อย บริเวณใบส่งตัวรับลมปลายปีก หรือ วิงเล็ต วิศวกรตรวจสอบแล้วเห็นว่าอาจทำให้อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อความปลอดภัยระหว่างการบิน จึงถอดชิ้นส่วนนั้นออก และทำการบินไปจังหวัดเชียงใหม่ตามปกติ